Credit : http://www.singburi.go.th/covid19/archives/7826
หน้ากากอนามัยเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับการป้องกันสิ่งปนเปื้อนในรูปแบบของเหลว เช่น น้ำลาย หรือละอองปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกและปาก หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วถือเป็นขยะมูลฝอยติดเชื้อที่ต้องมีการกำจัดและทิ้งอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากกำจัดไม่ถูกวิธีก็อาจเพิ่มโอกาสที่เชื้อโควิด-19 จะแพร่กระจายได้
1. ถอดหน้ากากโดยห้ามสัมผัสด้านใน และด้านนอกของหน้ากาก
2. พับ หรือม้วนหน้ากากเก็บส่วนที่สัมผัสร่างกายไว้ด้านใน
3. ใช้สายรัดพันไว้รอบหน้ากาก
4. ใส่ถุง (แยกกับขยะประเภทอื่น) พร้อมรัดปากถุงให้แน่น เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อ
5. เขียนบนถุงขยะนั้นให้เห็นชัดเจนว่าเป็นขยะติดเชื้อ (หน้ากากอนามัยใช้แล้ว)
6. ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ (สีแดง) เพื่อเข้าสู่กระบวนการกำจัดเชื้อ
7. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
“การทิ้งหน้ากากอนามัยแบบถูกวิธี” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันเพื่อลดปัญหาขยะมูลฝอย ลดการสร้างผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพราะ “หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว” ไม่ใช่สิ่งไกลตัว สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมสร้างความตระหนัก ปลุกจิตสำนึกใหม่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทย ลดการสร้างขยะมูลฝอย พร้อมหนุนเสริมให้ทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาขยะที่เป็นวาระแห่งชาติด้วยนวัตกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน