ติดต่อเรา

กรมอนามัย เสนอแนวทางการจัดการขยะ กรณีบ้านถูกน้ำท่วม


กรมอนามัย เสนอแนวทางการจัดการขยะ กรณีบ้านถูกน้ำท่วม โดยมีแนวทางการจัดการขยะ ดังนี้

    • ขยะประเภทเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในแต่ละวัน (ขยะเปียก)
      • กล่องโฟม ถุงพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ควรทิ้งลงแหล่งน้ำ ให้รวบรวมทิ้งลงในถุงขยะ มัดปากถุงให้แน่น
      • ในกรณีที่ต้องกำจัดขยะในพื้นที่เอง และสามารถหาพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงได้ ให้ขุดหลุมลึก ประมาณ 1.5 เมตร
    • ขยะประเภทกระป๋องโลหะ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก
      • ไม่ควรทิ้งลงแหล่งน้ำ ให้แยกเก็บไว้เฉพาะ
    • ขยะประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ชุดรับแขก
      • ให้เก็บรวบรวมไว้ รอนำไปไปจัดการหรือติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างเหมาะสม

กรมอนามัย ขอเสนอแนวทางการจัดการขยะ กรณีบ้านถูกน้ำท่วม

    •  ขยะประเภทเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในแต่ละวัน (ขยะเปียก)
      • กล่องโฟม ถุงพลาสติกที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ควรทิ้งลงแหล่งน้ำ ให้รวบรวมทิ้งลงในถุงขยะ มัดปากถุงให้แน่น เก็บไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ้านเพื่อป้องกันแมลง และสัตว์กัดแทะ และรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง
      • ในกรณีที่ต้องกำจัดขยะในพื้นที่เอง และสามารถหาพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงได้ ให้ขุดหลุมลึก ประมาณ 1.5 เมตร โดยความกว้างของปากหลุมขึ้นอยู่กับปริมาณขยะ นำขยะเปียกมาใส่หลุมทุกวัน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 6 เซนติเมตร
    • ขยะประเภทกระป๋องโลหะ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก
      • ไม่ควรทิ้งลงแหล่งน้ำ ให้แยกเก็บไว้เฉพาะ โดยเก็บรวบรวมไว้ในภาชนะบรรจุที่เหมาะสมเพื่อรอนำไปขาย เมื่อเข้าสู่สภาวะปกติ
    • ขยะประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โต๊ะ เตียง เก้าอี้ ชุดรับแขก
      • ให้เก็บรวบรวมไว้ รอนำไปไปจัดการหรือติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัดอย่างเหมาะสม เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติ
         

 

ที่มา : Link